วันเสาร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
การสร้างสื่อ ด้วยคอมพิวเตอร์
การผลิตสื่อการสอนด้วยคอมพิวเตอร์การผลิตสื่อการสอน e-learningเป็นที่ทราบกันดีว่า ปัจจุบันมีการพูดถึงการพัฒนาระบบ e-learning ในสถาบันการศึกษาเป็นอย่างมาก รัฐบาลได้ให้การสนับสนุนกับการพัฒนาระบบ e-learning เป็นอย่างมาก และได้มีการพัฒนาในส่วนต่างๆ อย่างรวดเร็วตามการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ท ตัวอย่างที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรมก็คือการถือกำเนิดของ มหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย (Thailand cyber university) และการพัฒนาศูนย์กลาง e-learning ของโรงเรียนมัธยมศึกษาทั่วประเทศอย่างไรก็ตาม เราจะเห็นได้ว่าสถานการณ์ของ e-learning ในเมืองไทยนั้นยังไม่มีทิศทางที่ชัดเจน มีความเหลื่อมล้ำเป็นอย่างมากระหว่างสถาบันที่มีทรัพยากรและบุคลากรที่พร้อม นอกจากนี้ การพัฒนาบทเรียน e-learning ยังจำกัดอยู่แค่การสร้างบทเรียนง่ายๆ ไม่มีความน่าดึงดูดใจสำหรับผู้เรียน บทเรียน e-learning ที่ดี น่าสนใจมีลูกเล่นต่างๆ ที่ทำให้ผู้เรียนสนุกและได้ความรู้ไปด้วยนั้น มีน้อยมาก และมีอยู่อย่างกระจัดกระจาย เพราะมักจะได้รับการพัฒนามาจากครู อาจารย์แต่ละท่านที่ต้องการทำของตัวท่านเอง โดยไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันแต่อย่างใดสิ่งที่รัฐบาลพัฒนาได้อย่างง่าย และรวดเร็วที่สุดคือการลงทุนทางด้านอุปกรณ์ทางด้านคอมพิวเตอร์ ซึ่งรัฐบาลประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง กล่าวคือจำนวนคอมพิวเตอร์ในสถาบันการศึกษามีจำนวนเพิ่มมากขึ้น แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือความพร้อมของบุคลากรที่จะใช้คอมพิวเตอร์เหล่านั้น โดยปกติ ครู อาจารย์ มักจะถูกคาดหวังให้เป็นผู้ผลิตสื่อการสอน e-learning ด้วยตัวท่านเอง ความพร้อมของครู อาจารย์ในการพัฒนาสื่อการสอน e-learning จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง และเป็นที่มาของการศึกษาวิจัยนี้ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ และ Umea University, Swedenการศึกษาวิจัยนี้ ต้องการศึกษาความพร้อมของครู อาจารย์ในการพัฒนาสื่อการสอน e-learning โดยวัดทักษะทางด้านคอมพิวเตอร์ของครู อาจารย์ว่ามีความพร้อมในด้านใด และด้านใดที่ครู อาจารย์ยังขาดทักษะ ซึ่งจะได้ใช้เป็นข้อมูลให้กับรัฐบาลในการอบรมครู อาจารย์ในโอกาสต่อไป
วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
การสร้างสื่อด้วยคอมพิวเตอร์
การสร้างสื่อการเรียนการสอนด้วยคอมพิวเตอร์คอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI เป็นกระบวนการเรียนการสอน โดยใช้สื่อคอมพิวเตอร์ในการนำเสนอเนื้อหาสาระองค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
........1. เสนอสิ่งเร้าให้กับผู้เรียน ได้แก่ เนื้อหา ภาพนิ่ง คำถาม ภาพเคลื่อนไหว
........2. ประเมินการตอบสนองของผู้เรียน ได้แก่ การตัดสิน คำตอบ
........3. ให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อการเสริมแรง ได้แก่ การให้รางวัลหรือคะแนน
........4. ให้ผู้เรียนเลือกสิ่งเร้าลำดับต่อไปรูปแบบต่างๆของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
................1. เพื่อการสอน สอนเนื้อหาใหม่แก่ผู้เรียน
................2. ประเภทแบบฝึกหัด เพื่อฝึกความแม่นยำ
................3. ประเภทสถานการณ์จำลอง เพื่อให้ผู้เรียนได้ทดลองปฏิบัติกับสถานการณ์จำลอง
................4. ประเภทเกมการสอน เพื่อกระตุ้นความสนใจของผู้เรียน
................5. ประเภทการค้นพบ เพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสทดลองกระทำสิ่งต่างๆ จนสามารถสรุปได้ด้วยตนเอง
................6. ประเภทแก้ปัญหา ฝึกให้ผู้เรียนรู้จักคิด ตัดสินใจ
................7. ประเภทเพื่อการทดสอบ ใช้ประเมินการสอนของครู
..........ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
.......1. สร้างแรงจูงใจในการเรียน ดึงดูดความสนใจ
.......2. ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และสามารถเข้าใจเนื้อหาได้เร็ว
.......3. ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบต่อตนเอง
.......4. สามารถรับรู้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้อย่างชัดเจน
.......5. ประหยัดเวลาและงบประมาณในการเรียนการสอน
................2. ประเภทแบบฝึกหัด เพื่อฝึกความแม่นยำ
................3. ประเภทสถานการณ์จำลอง เพื่อให้ผู้เรียนได้ทดลองปฏิบัติกับสถานการณ์จำลอง
................4. ประเภทเกมการสอน เพื่อกระตุ้นความสนใจของผู้เรียน
................5. ประเภทการค้นพบ เพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสทดลองกระทำสิ่งต่างๆ จนสามารถสรุปได้ด้วยตนเอง
................6. ประเภทแก้ปัญหา ฝึกให้ผู้เรียนรู้จักคิด ตัดสินใจ
................7. ประเภทเพื่อการทดสอบ ใช้ประเมินการสอนของครู
..........ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
.......1. สร้างแรงจูงใจในการเรียน ดึงดูดความสนใจ
.......2. ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และสามารถเข้าใจเนื้อหาได้เร็ว
.......3. ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบต่อตนเอง
.......4. สามารถรับรู้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้อย่างชัดเจน
.......5. ประหยัดเวลาและงบประมาณในการเรียนการสอน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)